ไขข้อสงสัย คำถามคาใจสำหรับคนที่กำลังจะ “รักษารากฟัน”

 In Lifestyle, สุขภาพปาก

การ รักษารากฟัน เป็นอีก 1 ทางเลือกของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันรุนแรงจนถึงส่วนโพรงประสาท หรือเกิดอุบัติเหตุกับฟัน และไม่อยากสูญเสียฟันจริงไป ซึ่งการรักษารากฟันจะเข้ามาช่วยให้ฟันแท้สามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยไม่ต้องถอนฟันทิ้ง แต่อาจต้องใช้ระยะเวลา การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละเคส อีกทั้งค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าการถอนฟันหลายเท่าตัว จึงทำให้หลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยในใจอยู่ไม่น้อย วันนี้เราได้รวบรวมคำถามคาใจของคนที่กำลังจะรักษารากฟันมาฝากค่ะ 

 

Q : อาการแบบไหน? ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าต้องรักษารากฟัน 

การเข้ารับการรักษารากฟันส่วนใหญ่ ต้องทำก็ต่อเมื่อฟันมีปัญหารุนแรง โพรงประสาทเกิดความเสียหาย อาการเบื้องต้นที่ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กสาเหตุให้แน่ใจ มีดังนี้ 

  • มีอาการเจ็บ ปวดฟัน เวลากัดหรือเคี้ยวอาหาร 
  • เสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อน – เย็น 
  • ฟันโยก ฟันหลวม 
  • มีอาการบวม หรือเหงือกนิ่มผิดปกติในบริเวณฟันที่กำลังติดเชื้อ 
  • หน้าบวมจากการอักเสบของฟัน 
  • มีหนอง 
  • สีของฟันคล้ำลง 
  • ฟันแตก ฟันราว ฟันหัก 

หากคุณมี 1 ในอาการเหล่านี้ เบื้องต้นควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาต่อไป บางกรณีหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็ไม่จำเป็นต้องเสียทั้งเงิน ทั้งเวลาไปถึงขั้นรักษารากฟัน  

Q : รักษารากฟัน ใช้ระยะเวลานานแค่ไหน? 

การรักษารากฟัน ต้องใช้เวลาจากหลาย ๆ ขั้นตอนที่ทันตแพทย์ต้องทำการรักษา ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความละเอียด และความชำนาญมากเป็นพิเศษตั้งแต่ 

  • การใช้เครื่องมือเพื่อเปิดโพรงฟัน ตัดเส้นประสาทฟันที่ติดเชื้อ ทำการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด ขูดเนื้อโพรงประสาทที่เสียหายออก 
  • ปิดโพรงฟันชั่วคราว เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ยังหลงเหลืออยู่ในคลองรากฟัน ระยะเวลาของขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับความเสียหายของโพรงฟัน บางคนอาจต้องใช้เวลาในการจำกัดเชื้อโรคหลายครั้ง 
  • เมื่อคลองรากฟันปราศจากเชื้อโรคอย่างแน่นอนแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนเก็บรายละเอียดโดยการใช้วัสดุคล้ายยางแท่งขนาดเล็กอุดบริเวณคลองรากฟัน พร้อมกับใช้ซีเมนต์สำหรับฟันปิดทับอีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำสอง 

 

Q : รักษารากฟัน เจ็บมั้ย? 

จะเจ็บมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับการอักเสบของฟันมากกว่า เพราะฟันทุกซี่มีรากฟัน มีเส้นเลือด เส้นประสาท เมื่อมีฟันผุเกิดขึ้น รากฟัน เส้นเลือด เส้นประสาทต่าง ๆ ก็จะติดเชื้อ หากทิ้งไว้ฟันซี่ดังกล่าวก็จะตายภายในถูกแทนที่ด้วยหนอง และเศษเนื้อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวด 

สำหรับบางคนถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าระยะกำจัดเชื้อของการรักษารากฟันแล้ว ยังคงมีอาการเจ็บปวดชัดเจนอยู่เพราะยังมีเชื้อโรคฝั่งตัวอยู่ในรากฟัน แต่บางคนอาจจะไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็มี 

Q : การดูแลตัวเองหลังรักษารากฟันเสร็จแล้ว มีอะไรซับซ้อนมั้ย? 

ในช่วง 3 – 4 วันแรก หลังจากที่ได้เข้ารับการรักษาเสร็จเรียบร้อยจะมีอาการข้างเคียง อาทิ อาการเหงือกนิ่ม รู้สึกว่าขากรรไกรนิ่มลงเมื่ออ้าปากค้างเป็นเวลานาน  รวมไปถึงความรู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอมในบริเวณที่รักษารากฟัน นอกจากนี้ยังช่วงแรก หลังจากรักษารากฟันเสร็จ ควรปฎิบัติตัวเองดังนี้ 

  • หลังจากรักษารากฟันเสร็จ งดทานอาหารจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ 
  • รักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ 
  • งดการกัด – บดเคี้ยวอาหารด้วยฟันซี่ที่ทำการรักษา 
  • หากรู้สึกว่าฟันไม่สบกัน เคี้ยวไม่เสมอ หรือมีอาการบวมภายใน ภายนอกอย่างเห็นได้ชัด รีบกลับไปพบทันตแพทย์โดยด่วน 

 

ถึงแม้ว่าการรักษารากฟัน จะมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และต้องใช้เวลามากกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า หากจะสามารถรักษาฟันจริงให้อยู่กับคุณไปได้ โดยที่ไม่ต้องถอนทิ้ง หรือใช้ฟันปลอมรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาช่วย 

ติดตามสาระความรู้ Lifestyle การดูแลช่องปากกับ The Orange Dental ได้ที่ http://theorange-dentalclinic.in.th/  

 

Recent Posts

Start typing and press Enter to search